ขอขอบพระคุณข้อมูล
จากหนังสือ ตำรับพรหมรังสี โดยกรมท่า สำนักงานนิตยาสารอุณมิลิต
การพิจารณาพระสมเด็จเบื้องต้น
การพิจารณาพระสมเด็จโดยหลักสากล
ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็นสองขั้นตอนด้วยกันคือ
ก.การพิจารณาเนื้อ
ข.การพิจารณาพิมพ์ทรง
สองอย่างที่ได้กล่าวถึงเป็นเรื่องทีต้องศึกษาอย่างจริงจังให้ถ่องแท้และลึกซึ้ง ทั้งนี้เพราะพระสมเด็จเป็นพระที่ต้องศึกษาและวิเคราะห์ตลอดเวลา เพราะมักปลอมด้วยกรรมวิธีแยบยลอยู่เสมออย่างสม่ำเสมอ และปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปมาก พระเก๊ที่ปลอมก็ได้ อายุยิ่งยากในการพิจารณา ปัจจุบันพระที่วงการยอมรับว่าแท้บางองค์ก็เป็นรุ่นเก๊ที่ปลอมมาแต่ปี ๒๔๙๕ แต่ว่าจะเปิดใจยอมรับหรือไม่เท่านั้น
การพิจารณาทางเนื้อ
ทำไมจึงมาพูดถึงเรื่องเนื้อก่อนต้องขอทำความเข้าใจว่า การดูเนื้อนั้นจะสามารถทำให้แยกแยะความใหม่เก่าได้อย่างรวดเร็ว การดูพิมพ์นั้นหากดูเนื้อไม้เข้าใจแล้วพิมพ์ก็ไม่สามารถจะช่วยอะไรได้มากนัก เพราะพิมพ์ของพระมือผีในปัจจุบันมีการพัฒนาความคมลึกของพิมพ์อยู่เป็นประจำ และผู้ที่เป็นนักปลอมพระฝีมือดีนั้น ล้วนเป็นผู้ที่เก่งกาจด้านพระสมเด็จ คือดูของแท้เป็นและมีความแม่นยำขนาดเซียนก็ยังอาย แต่คนประเภทนี้มีความโลภและความเจ้าเล่ห์เพทุบายหวังในโภคผลด้วยการขายเศษปูนปั้นผ่านกรรมวิธีราคาต้นทุนไม่กี่ร้อยบาทด้วยราคาถึงแสนหรือล้านก็แล้วแต่ฐานะผู้เช่า
ความเก่าของเนื้อพระสมเด็จ
พระสมเด็จเป็นพระเนื้อปูนปั้น หมายถึงมีส่วนผสมหลักเป็นปูนขาว ปูนขาวในทีนี้หมายถึงปูนขาวที่ได้มาจากการเผาหิน ที่ทำปูนขาวแล้วมักกับเกลือเป็นปูนกินหมากที่มีสีขาวมาตำป่นจนเป็นผงร่อนแล้วจึงเอาผงปูนนั้นมาทำเป็นปูนขาวหรือที่โบราณเรียกว่าปูนสอ คุณลักษณะของปูนขาวที่ทำจากหินนั้นก็คือ
มีน้ำหนักในตัว หมายความว่า ปูนที่ได้มาจากหินเผาจะมีน้ำหนักของแคลเชี่ยม มีมวลเมื่อนำมาประกอบกับวัสดุอย่างอื่นอย่างศิลาธิคุณที่เป็นส่วนผสมหลักก็ทำให้มีน้ำหนักเพิ่ม
(ดูวิเคราะห์))
มีความแกร่ง หมายความว่า จะมีความแกร่งหรือความโยงยืดในตัวมากกว่าปูนสอธรรมดาทั้งนี้เพราะโครงสร้างของเนื้อพระที่มีหินสด ผสมศิลาธิคุณที่มีลักษณะกายภาพบางประการคล้ายศิลาแลง
ดังได้กล่าวมาแล้วในภาคประวัติการสร้างว่า เจ้าประคุณสมเด็จได้สร้างพระของท่านด้วยปูนผสมน้ำมันตังอิ๊วและน้ำอ้อย(หรือน้ำตาลอ้อย)อันเป็นสูตรเดียวกับสูตรปูนปั้นของโบราณที่ใช้ทำลายปูนปั้นของโบราณสถานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงอยุธยา การเอาปูนมาโขลกกับน้ำอ้อยจนได้ที่จะทำให้ปูนนั้นคงทนต่อกาลเวลาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อผสมกับตังอิ๊วด้วยแล้วเกิดการรัดตัวยิ่งแข็งแกรงมากขึ้น อายุการสร้างของพระสมเด็จนับถึงปัจจุบันกว่า๑๐๐ ปีทำให้เนื้อปูนปั้นเกิดความหม่นเก่าอย่างที่สุด การพิจารณาเนื้อเริ่มกันตรงนี้เลย
*การพิจารณาพระเครื่องที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จสร้างนั้น แบ่งแยกเป็นสองส่วน คือส่วนเนื้อหาหลัก และส่วนประกอบซึ่ง ส่วนเนื้อหาหลักได้แก่ ตัวประสานเนื้อได้แก่ปูนผสมน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง กล้วย ตังอิ๊ว กับหินสดที่เรียก “ศิลาธิคุณ” ซึ่งในวงการนิยมแบบมาตรฐานไม่ พิจารณามวลสารในส่วนนี้แต่เป็นที่ยอมรับในหมู่นักนิยมพระเครื่องสายวัดระฆัง ที่ต้องหาจุดมวาลสารศิลาธิคุณให้พบ เนื่องจากไม่มีในพระเครื่องชนิดอื่น ซึ่งข้อยืนยันประการหนึ่งก็คือ หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม ซึ่งเคยไปค้นคว้าเรื่องศิลาธิคุณจากวัดระฆังฯ และได้นำมาไว้ที่วัด แก้วเจริญ ก้อนเขื่องพอสมควรซึ่งไม่มีผู้สนใจมองข้ามไป แต่ท่านหลวงพ่อหยอดเอง ก็ได้นำมาผสมสร้างพระเครื่องท่านในบางรุ่นเช่นกัน
ก.ปูนเก่าอายุ ๑๐๐ ปี กับปูนอายุไม่กี่สิบปี ผิดกันอย่างไรข้อนี้อธิบายได้ไม่ยาก
ก่อนอื่นต้องรู้ว่าสัญชาติปูนนั้นเมื่อผสมกับน้ำอ้อยหรือน้ำมันตังอิ๊วแล้วจะรัดตัวติดกับตัวประสานนั้นในเบื้องต้น เพราะความเปียกชื้นในตัวประสานทำให้ปูนปั้นละลายเข้าซึมซาบได้
ครั้นกาลเวลาได้ผ่านไปปฏิกิริยาแรกก็คือ ความร้อน ความร้อนจะทำให้ปูนคายความชื้นออกมาทีละน้อยๆ การคายความชื่นของปูนด้วยปฏิกิริยาความร้อนเป็นช่วงแรกก็คือการดันผิวปูนที่อยู่ด้านนอกออกมาทีละน้อยๆกลายเป็นฟองพรุน เรียกว่าฟองพรุน เรียกว่าฟองแคลเซี่ยม
รอยพรุนฟองแคลเซี่ยมนี่เมื่อความร้อนซึมออกไปหมดแล้วจะเปิดอ้าไว้ปิดผิวพระที่อยู่ลึกลงไปเสียหมดสิ้น เมื่อพระผ่านกาลเวลามาเป็นร้อยปี ผิวนอกที่พรุนเพราะฟองอากาศก็หลุดออกไปเผยให้เห็นผิวด้านในซึ่งมีความแกร่งกว่าซ้อนเป็นชั้นๆ คล้ายผิวคอนกรีตที่กะเทาะ เพราะกาลเวลาที่เราเรียกกันเป็นศัพท์เฉพาะว่า
“เนื้อเป็นกาบ”
กาบคือการซ้อนกันของปูนปั้นที่ถูกปฏิกิริยาความร้อนดันออกทางผิวนั่นเอง เมื่อเอาแว่นส่องดูผิวพระ โดยเฉพาะด้านหลังจะเห็นรอยกาบของเนื้อได้ชัดเจนว่าเนื้อด้านนอกจะเปิดออกแล้วมองเห็นเนื้อด้านในที่อยู่ถัดเข้าไปกันเป็นชั้นๆ
*กาลเวลานับร้อยปีทำให้พระสมเด็จเกิดแผลที่เป็นกาบนี้ตรงด้านหลัง เป็นรอยกาบหรือรูพรุนที่เกิดจากมวลสารบางส่วนหลุดร่อนไปลักษณะการซ้อนกันเป็นกาบของเนื้อพระอันเนื่องจากปฏิกิริยาปูนปั้นนี้ในของเทียมทำไม่ได้เพราะไม่ได้อายุ*
ของเทียมแม้จะทำให้เนื้อดูเสมือนแห้ง แต่ไม่สามารถสร้างรอยกาบซ้อนของเนื้อพระได้เลย มีบางฝีมือพยายามทำให้ผิวกะเทาะเพื่อเผยให้เห็นเนื้อด้านใน ก็ปรากฏว่าเนื้อด้านในนอกจากจะไม่ซ้อนเป็นกาบแล้วยังดูสดขาวและไม่โยงยืดกัน มองเห็นความสดของสิ่งที่เป็นตัวประสานได้ง่าย จึงมีการเปลี่ยนแปลงใหม่มาเป็นการทำให้ความลึกเป็นลักษณะรอยลูกคลื่นตามผิวแทนการทำให้เนื้อถลอกเป็นกาบๆและทำรอยหนอนด้นและปูต่ายด้วยการเสริมแต่งผิวด้วยการเสริมแต่งผิว ด้วยเคมีและสีที่เป็นพิเศษเพื่อให้ดูหม่นเก่า การดูความเก่าของพระเครื่องที่เรียกว่า”ตัดสด” จึงต้องใช้ประสบการณ์ และพิจารณาจากของจริงที่มีวัสดุใกล้เคียงกัน แต่อายุต่างกัน
*ลักษณะของเนื้อกาบ จะพิจารณาได้จากร่องรอยการหลุดร่อนของผิวพื้นที่อาจรูพรุนเล็กๆอย่างที่เรียกรูพรุนปลายเข็ม ซึ่งนักพระเครื่องที่ต่างคตินิยมกันได้แสดงทัศนะการเกิดที่แตกต่างกัน แต่ข้อเท็จจริงคือการเกิดปฏิกิริยาเซ็ทตัวของปูนขณะแข็งตัวและเมื่อผ่านกาลเวลาที่นาน เนื้อพระจะบ่มตัวเป็นชั้นจากชั้นนอกเข้าสู่ขั้นในทำให้พิจารณาได้ว่าเนื้อพระเป็นชั้น ที่เรียกว่ากาบทั้งนี้ กรณีที่เนื้อใส่น้ำมันตังอิ๊วหากใส่มากก็จะลอยตัวเป็นผิวอยู่ที่ชั้นบนของพระด้วยอีก ทั้งการหมาดเปียกของเนื้อพระก็มีผลกับความแน่นของเนื้อ ที่ต้องพิจารณาด้วย ผู้ที่จะพิจารณาได้ท่องแท้จึงต้องทดลองด้วยตนเองก็จะค้นพบธรรมชาตินี้ได้ไม่ยาก
ข.ความแห้งและหดขององค์พระ ความแห้งของพระอายุ ๑๐๐ กว่าปี กับพระที่เพิ่งสร้างผิดกันหรือไม่
ข้อนี้อธิบายได้ไม่ยากเหมือนกัน พระปูนปั้นนั้นเมื่อกาลเวลาผ่านไปตัวประสาน อันได้แก่ น้ำมันตังอิ๊วและน้ำอ้อย ถูกความร้อนไล่เผาผลาญให้ระเหยออกไปทีละน้อยๆ เมื่อตัวประสานส่วนใหญ่ระเหยออกไปเนื้อปูนปั้นส่วนที่ไม่ได้อมน้ำมันตัวประสานไว้มากนัก ก็จะแห้งเกิดเป็นช่องว่างโมเลกุลของเนื้อปูนกับโมเลกุลของเครื่องประสาน ทำให้เนื้อปูนด้านนอกซึ่งแห้งเร็วกว่ากดทับเนื้อปูนที่อยู่ภายในให้อัดตัวยุบลงไปภายในเป็นชั้นๆ แบบค่อยเป็นค่อยไปทำให้เนื้อปูนปั้นที่เป็นพิมพ์ที่กดไว้เกิดความหดตัวและแห้งรัดตัวลงทำให้พิมพ์พระดูหดลงไปเล็กน้อย และมีความเหี่ยวของเนื้อเมื่อเอาแว่นส่องดูจะเห็นว่าผิวขององค์พระจะรัดตัวและหดตัวลง ตามซอกตามสันพิมพ์เป็นรอยเหี่ยวอย่างเป็นธรรมชาติ
ของเก๊ยุคโบราณนั้นเมื่อทำขึ้นมาแล้วต้องเอาไปอบแบบชาวบ้าน คือเอาภาชนะที่จะอบพระมาใส่พระสมเด็จที่กดพิมพ์แล้วไว้ภายใน ตั้งบนเตาถ่านด้านล่างและด้านบนที่เป็นฝาภาชนะ ก็เอาถ่านมาโปะเข้าไว้ด้วยเหมือนกับการอบขนมหม้อแกงหรือขนมฝรั่งตามหาบเร่นั่นเอง
เมื่ออบได้พระเริ่มแห้ง ก็จะเอามาตากไว้บนหลังคาสังกะสี ตากแดดตากน้ำค้างอีกพักหนึ่ง จึงเอาไปอบอีกครั้ง จากนั้นก็แต่งผิวและสีเพื่อนำออกขาย ความแห้งจึงมองเห็นว่าเป็นของใหม่ชัดเจน
ของเก๊ยุคปัจจุบันได้มีการพัฒนา มีการซื้อเตาอบพิเศษที่สามารถควบคุมอุณหภูมิตั้งแต่๕องศาเซลเซียส ไปจนถึง ๒๐๐-๓๐๐ องศา เพื่อนำพระที่ทำได้แล้วไปอบพระ ที่อบแบบนี้เนื้อจะแห้งพอสมควร เพราะเป็นการค่อยเป็นค่อยไปด้วยการควบคุมอุณหภูมิ
กระนั้นก็ตามที่รอยหดตัวของเนื้อพระก็ยังไม่ใกล้เคียงกับของที่หดตามธรรมชาติ กล่าวคือรอยนั้นจะเหี่ยวและฝ่อและผิวที่หดลงไปนั้นดูฟ่ามเพราะการหดตัวของโมเลกุลในปูนกับตัวประสานเป็นไปด้วยเวลาอันจำกัด
*ร่องรอยที่ปรากฏเนื่องจากอายุมากกว่า๑๐๐ปี จึงทำให้มีรายละเอียดในการพิจารณาพระเครื่องของเจ้าประคุณสมเด็จค่อนข้างมาก ทั้งส่วนธรรมชาติของเนื้อพระที่อาจ ย่น ยุบ แยก แห้ง หม่นเก่า หนึก สามารถมองทางลึกลงไปถึงชั้นในของเนื้อพระบางระดับได้ เป็นลักษณะเอกลักษณ์ของพระเนื้อผงตระกูลนี้ ที่สามารถนำมาพิจารณาความเก่า เรียกว่า “ตัดสด”ซึงบรรดานักนิยมพระเครื่องจะมีความเห็นในเรื่องนี้แตกต่างกันบ้างในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ตามข้อสันนิษฐานของตน รองรอยเหล่านี้ จะพิจารณารวมกับความลึกของพิมพ์ที่ปรากฏบนพระองค์นั้นเช่นตามองค์พระ เส้นซุ้ม ซึ่งจะทำให้เห็นความแตกต่างของเนื้อพระในบริเวณนั้นง่ายขึ้น
ค.คำว่าแห้งหมายความว่าอย่างไร
คำว่าแห้งในมติของนักเลงพระนั้นนิยามว่า แห้งเพราะกาลเวลามองดูด้วยตาเปล่าก็เห็นว่าแห้ง ไม่เหลือความสดของของตัวประสานหรือเนื้อปูนไว้เลย แห้งแบบที่เรียกว่าสนิทเมื่อเอาแว่นส่องดูเนื้อพระของแท้จะเห็นว่าแห้งสนิทไม่มีคราบกาวหรือสารเคมีที่แปดเปื้อนกับสีละเลงลงแต่งเนื้อพระให้ดูหม่นเก่า
ของเทียมถ้ามองเข้าไปให้ดีๆ จะเห็นว่าที่ผิวขององค์พระนั้นมีความสดใหม่เป็นสิ่งที่สะดุดตา สิ่งนั้นจะมีสีขาวหรือเหลืองนวลที่มี
|
|
|
ความมันพอสังเกตได้ จึงควรพิจารณาความแห้งให้แม่นยำ เพราะการเขียนเป็นตัวหนังสือนั้นไม่อาจทำได้ละเอียดได้มากกว่านี้
ค.ข้อควรสังเกตของความแห้งและหด หมายความว่า พระสมเด็จแท้จะไม่มีรอยหดจนเนื้อแตกอ้าเป็นร่องแตกระแหงเหมือนผืนนาแห้งแล้งเป็นเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังก็ตามที
ขอบด้านข้างขององค์พระก็ไม่มีรอยยุบลงไปแตกอ้าเป็นร่องลึกๆ คงจะมีรอยยุบข้าไปตามธรรมชาติเป็นคลื่นเป็นริ้วเพียงเล็กน้อย ถ้าร่องด้านข้างลึกลงไปมากหรืออ้ามากผิดปกติธรรมดาก็บอกได้เลยว่าเป็นพระปลอมมือผีแน่นอนที่สุด
สรุปแล้วก็คือควรจะศึกษาเรื่องความเก่าของเนื้อให้แม่นเป็อันดับแรก ว่าพระอายุ ๑๐๐ ปี กับพระอายุ ๑๐ หรือยี่สิบปีนั้น ผิดกันอย่างไร ความเก่าต้องเป็นไปตามธรรมชาติมิใช่เก่าแบบอบแห้ง ซึ่งได้อธิบายมาแล้ว นี่เป็นบันไดขั้นแรกที่จะเข้าสู่การดูพระสมเด็จ
ท่านผู้อ่านคงเคยพบกับตัวเองว่าเซียนใหญ่ที่มีความจัดเจนนั้นบางครั้งไม่ต้องส่องแว่น ถ้ามีความแห้งเขาจะดูพิมพ์ด้วยตาเปล่าแล้วจึงเช็คกับมวลสารเป็นสุดท้ายแล้วจึงตกลงราคา
แต่เซียนบางคนต้องดูพิมพ์ก่อน เมื่อพิมพ์ถูกแล้วจึงส่องดูเนื้อกันอีกรอบก่อนตกลงราคาซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะบุคคลไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว
การดูเนื้อหาของพระสมเด็จนี้ให้ดูความเก่าเป็นหลัก เพราะความเก่าใหม่นั้นคงดูไม่ยากนัก หากใช้การพิจารณาแบบง่ายๆ ที่ได้พยายามเขียนให้เข้าง่ายๆนี้เป็นหลัก เพราะถ้าดูไม่ออกว่าเนื้อเก่าเป็นอย่างไร ก็นับว่าไม่อาจเข้าสู่การเป็นพระสมเด็จได้เลย
*จุดอ่อนที่เห็นอยู่เป็นประจำสำหรับมือใหม่ก็คือ การดูพิมพ์แล้วเช่าตามแผงแบกะดินทั้งๆ ที่เนื้อพระดูสดใหม่จนเห็นได้ชัด เห็นส่องกันเป็นวันๆ แล้วเช่าเอามา องค์ละสามร้อยห้าร้อยเงินจมไปเปล่าๆไม่เข้าการทีเดียว
|
ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลจากทีมงาน ชมรมฯพระเครื่องเบญจภาคี www.somdej1899.com
|
|